การขาดสารอาหาร ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ อาหารเพื่อสุขภาพจึงจำเป็นอย่างยิ่ง อาหารสุขภาพ จำเป็นต่อร่างกาย แต่การขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย ผิวหนังมีลักษณะผิดปกติ กระดูกหยุดเจริญเติบโต หรือมีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่งโรคขาดสารอาหารมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที อาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ปัญหาของการขาดสารอาหาร จะพบมากในผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง ร่วมกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ฟัน กระเพาะอาหาร ลำไส้ ที่มีประสิทธิภาพลดลงตามธรรมชาติ จึงทำให้ได้รับอาหารไม่เพียงพอ เกิดเป็นปัญหาการขาดสารอาหารตามมาได้ จึงจำเป็นต้องมีการประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุเป็นระยะ เพื่อให้สามารถตรวจหาภาวะขาดสารอาหารได้ตั้งแต่ระยะเนิ่น ๆ เพื่อทำการดูแลรักษาให้เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้โรคขาดสารอาหารนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ที่ไม่รู้สึกตัว และมไม่ได้การรับสารอาหาร จนนำไปสู่การให้อาหารทางสายยางนั่นเอง
อาการของโรคขาดสารอาหารขึ้นอยู่กับว่าร่างกายขาดสารอาหารชนิดใด ซึ่งอาการโดยทั่วไปที่อาจสังเกตได้ คือ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีผมร่วง ภาวะตัวซีด ง่วง อ่อนเพลียง่าย วิงเวียนศีรษะ มีความอยากอาหารที่ผิดปกติ มีปัญหาในการย่อยอาหาร ซึ่งอาจทำให้ท้องผูก รู้สึกเสียวหรือชาที่ข้อต่อ ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย หดหู่ ซึมเศร้า มีปัญหาด้านการหายใจ มีอาการใจสั่น เป็นลมหมดสติ ติดเชื้อหรือเจ็บป่วยง่าย ป่วยแล้วหายช้ากว่าปกติ ถ้าโรคขาดสารอาหารเกิดในเด็กอาจเจริญเติบโตช้า หรือมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้ เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยบางรายอาจเคยชินกับอาการของโรคจนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ และไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น หากมีอาการดังข้างต้น โดยเฉพาะอาการอ่อนเพลียหรือไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ เป็นเวลานาน ควรเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ ซึ่งโรคขาดสารอาหารนี้ สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ รวมไปถึงอาจจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ต้องมีการดูแลเรื่องของการให้อาหารอย่างใกล้ชิด และการให้อาหารจะต้องกระทำโดยผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยยาให้อาหาร
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เพียงพอ แพทย์หรือผู้ดูแลอาจพิจารณาให้ผู้สูงอายุดื่มอาหารทางการแพทย์เสริมได้ หรือใช้เป็นอาหารปั่นผสม ที่ออกแบบสูตรโดยนักโภชนาการ ซึ่งจุดประสงค์หลักของการใช้อาหารทางการแพทย์ คือใช้เพื่อเสริมมื้ออาหารแก่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอจากอาหารทั่วไป โดยที่จะทำให้ได้รับสารอาหารหลัก (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) และสารอาหารรอง (วิตามิน แร่ธาตุ) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในบางสูตรอาจมีการดัดแปลงสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีสภาวะของโรคที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะเริ่มใช้อาหารทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล รวมถึงนักโภชนาการเพื่อประเมินความต้องการพลังงานและสารอาหาร เพื่อกำหนดปริมาณการใช้อาหารทางการแพทย์ให้เหมาะสม รวมถึงสัดส่วนของวัตถุดิบที่เหมาะสมต่อร่างกายและความต้องการของผู้ป่วย เพื่อความปลอดภัย และคุณค่าทางอาหารที่ผู้ป่วยจะได้รับด้วย